ยินดีต้อนรับ



ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวอัจฉรียา พุทธานุ เอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน


ภาพกิจกรรมครูมูเล่านิทาน

ครูมูเล่านิทานให้นักศึกษาฟังอย่างสนุกสนาน..

 นักศึกษาของเราตั้งใจฟังครูมูเล่านิทานมาก อิอิ...

เด็กๆ อ่านหนังสือที่ผู้ใหญ่เขียน ฟังนิทานที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง
เด็กๆ มีโลกของเขาซึ่งแตกต่างจากโลกของผู้ใหญ่ โลกของเด็กบริสุทธิ์สดใส เต็มไปด้วยความสนุกสนานเริงร่า และไร้เดียงสา โลกในความรู้สึกของเด็กนั้นกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยมิตรภาพ ความซื่อสัตย์ ความเมตตากรุณา และความดีงาม วัยเด็กจึงเป็นวัยที่ควรได้รับอาหารสมองให้เพียงพอ เช่นเดียวกับอาหารกาย เพื่อเด็กๆ จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงพร้อมทั้งกาย และจิตใจ อาหารใจ ที่เด็กต้องการมากคือ ความรัก ความเอาใจใส่
ส่วน อาหารสมองที่เด็กต้องการคือ นิทานดีๆ สำหรับเขาเพื่อเขาจะได้ฟัง อ่าน และศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโลก และชีวิตด้วยตัวของเขาเอง เนื่องจากระยะวัยเด็กเป็นระยะเริ่มเรียนรู้ การวางรากฐานจำเป็นต้องได้รับตัวอย่างที่ดี นิทานจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีบทบาทต่อการพัฒนาเด็กให้เจริญงอกงามทั้งด้านจิตใจ สติปัญญา ความรู้และจินตนาการ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้ความบันเทิง หล่อหลอมจิตใจของเด็ก นิทานเป็นสื่อในการให้ประสบการณ์ที่ดีแก่เด็กๆ
เด็กๆ อ่านหนังสือมีจุดประสงค์หลายอย่าง โดยทั่วไปเด็กอ่านหนังสือ เพราะความอยากรู้ อยากเห็นตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งมักสนใจใคร่รู้ ความเป็นไปของสิ่งรอบๆ ตัว เพื่อทราบเรื่องราวและเหตุการณ์ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อช่วยในการดำเนินชีวิตในสังคม เป็นไปอย่างราบรื่นด้วยดี
ปัจจุบัน เด็กๆ สามารถเลือกนิทานได้อย่างกว้างขวาง
การจะ เลือกนิทานให้กับเด็กๆ สักเรื่อง ควรต้องศึกษาว่าเรื่องประเภทใดอ่านแล้วเด็กสนุกและชื่นชอบ หรือเด็กอ่านอะไรจึงจะสนุก ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าเด็กควรอ่านอะไรเท่านั้น เพราะบางครั้งเรื่องที่คิดว่าเด็กควรอ่าน อาจไม่ถูกใจเด็กก็ได้

สิ่งที่น่าสนใจที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในการเลือกหนังสือนิทานสำหรับเด็ก
ลักษณะนิทานที่ดีสำหรับเด็ก
นิทาน สำหรับเด็กมีมากมาย คุณพ่อคุณแม่จึงมีหน้าที่พิจารณา และคัดสรรนิทานที่ดี และเหมาะสมเพื่อนำนิทานที่ดีเหล่านี้ไปเล่าให้ลูกน้อยของคุณฟัง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึง ในการเลือกสรรนิทานสำหรับลูกน้อยมีดังนี้ค่ะ
1. ตรงกับความสนใจ และความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
2. เป็นเรื่องที่สนุกสนานเพลิดเพลิน แต่แฝงด้วยคุณธรรม
3. ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่มีจินตนาการ และชอบสร้างจินตนาการ ถ้านิทานเรื่องใดช่วยส่งเสริมจินตนาการของเขา เรื่องนั้นเด็กๆ จะอ่านซ้ำไป ซ้ำมา ไม่รู้จักเบื่อ4. ส่งเสริมความมั่นใจ เนื่องจากเด็กจะคิดว่าตัวเองเป็นตัวละครในเรื่อง และคิดว่าตนเองต้องประสบความสำเร็จเหมือนตัวละครในนิทาน ทำให้เด็กๆ เกิดความภาคภูมิใจประทับใจ 5. สนองอารมณ์ ความปรารถนาต่างๆ เช่น อยากเป็นคนเก่ง อยากได้รับความรัก นิทานที่มีเนื้อเรื่องสนองอารมณ์ต่างๆ ตามที่เด็กปรารถนา ไม่เน้นความรู้สึกด้านใดด้านหนึ่ง เรื่องเช่นนี้มักเป็นที่พอใจของเด็กๆ แทบทั้งนั้น
6. ส่งเสริมความรู้ เป็นเรื่องที่ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน ของเด็กเอง เช่น การแต่งตัว อาบน้ำ ไปโรงเรียน ฯลฯ
7. เค้าโครงเรื่องไม่วกวน เด็กเข้าใจง่าย กระชับ ตัวละคร ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ หมี สุนัข กระต่าย ฯลฯ มีวัยใกล้เคียงกับเด็ก เป็นเรื่องที่เด็กๆ ได้มีประสบการณ์ร่วม
8. ภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา คำบรรยาย มีเท่าที่จำเป็นส่วนใหญ่เด็กจะพอใจติดตามรูปภาพประกอบมากกว่า
9. ภาพประกอบนับเป็นหัวใจของนิทาน เด็กชอบอ่านด้วยภาพมากกว่าตัวหนังสือ ภาพประกอบจึงเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกมีชีวิต มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
10. รูปแบบของหนังสือนิทานต้องกะทัดรัดเหมาะกับมือเด็ก ทนทานต่อการหยิบจับ มีตัวหนังสือขนาดใหญ่ชัดเจน ข้อความแต่ละบรรทัดไม่ยาวเกินไป


เด็กๆ ได้อะไรจากนิทาน 
การ นำเอาประสบการณ์รอบๆ ตัวเด็กๆ มาเล่าเป็นเรื่องราว เป็นนิทานย่อมจะสะกดเด็กๆ ให้ใจจดใจจ่ออยู่กับการเล่านิทาน เด็กๆ จะเพลิดเพลินสนุกสนานและมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวที่ได้ยิน ได้เห็น สามารถสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ได้ไม่รู้จบ เด็กที่ได้ฟังได้อ่านนิทานเป็นประจำเขาจะได้อะไรบ้าง
1. เด็กๆ เกิดความรู้สึกอบอุ่น และใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อนๆ และสังคม
2. เด็กๆ เกิดความรู้สึกร่วมขณะฟังนิทาน ทำให้เขาเกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายและสดชื่นแจ่มใส
3. เด็กๆ เกิดสมาธิหรือความตั้งใจในการทำงานที่มีระยะเวลานาน
4. เด็กๆ เกิดความรู้สึกดีงาม เนื่องจากถูกกล่อมเกลาด้วยนิทานที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
5. เด็กๆ เกิดความละเอียดอ่อน รู้จัก ยอมรับ และมองโลกในแง่ดี
6. เด็กๆ เกิดกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพ ในการพิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล
7. เด็กๆ เกิดความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการอันกว้างไกลไร้ขอบเขต

คุณพ่อคุณแม่สามารถเป็นนักเล่านิทานสำหรับลูกน้อย
คุณ พ่อคุณแม่หลายท่านมักประสบปัญหาการเล่านิทานให้ลูกๆ ฟังไม่รู้ว่าจะเล่าแบบไหน เริ่มต้นอย่างไร วิธีไหนที่จะทำให้ลูกๆ สนใจ สนุกไปกับนิทาน เรามีเคล็ดไม่ลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ นักเล่านิทานมือสมัครเล่นมาฝากกันค่ะ
1. ใช้น้ำเสียง คำพูดที่สื่อความหมายเหมาะสม เด็กๆ สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ และออกเสียงให้ชัดเจน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดเสียงเป็นตัวละครในนิทาน แค่ใช้เสียงธรรมดาเล่าเรื่องให้ต่อเนื่องโดยไม่สะดุด ก็สามารถทำให้ลูก ของคุณสนุกได้เหมือนกัน
2. ขณะทำการเล่าต้องใช้ท่าทางมือ ลำตัว ศีรษะ ฯลฯ ประกอบการเล่าให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง หากคุณพ่อคุณแม่มีความสามารถในการวาดรูปอาจใช้วิธีการวาดไปเล่าไป หากมีความสามารถในงานประดิษฐ์ เช่น การทำหุ่น การทำตุ๊กตาผ้า ยิ่งทำให้การเล่านิทานของคุณมีสีสัน สร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ให้กับลูกรักของคุณได้มากทีเดียวค่ะ
3. สบสายตากับลูกขณะเล่านิทาน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับลูก ลูกจะรู้สึกว่าได้รับความรัก ความอบอุ่น ปลอดภัย เกิดความรู้สึกร่วม เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
สิ่ง ต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่เท่านั้น นิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ลูกฟัง ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามทั้งหมด แต่ขอให้การเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่เกิดจากความตั้งใจ ความรัก ความห่วงหาอาทร ความเข้าใจไม่จำเป็นต้องดัดเสียง แปลงกาย มีอุปกรณ์ประกอบมากมาย แค่นี้ลูกน้อยของคุณก็จะได้รับนิทานเป็นอาหารสมอง ทั้งกายและใจ

คลิกลิงค์คำว่านิทานสีน้ำเงินอ่านได้เลยจ้าาาา....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น