ยินดีต้อนรับ



ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวอัจฉรียา พุทธานุ เอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน


ครั้งที่ 6 วันที่ 20 กรกฎาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203 
เวลา 14.10 - 17.30 น.






วิดีโอนิทาน
       อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปจับฉลากกลุ่มละ 1 อัน และให้แต่ละกลุ่มไปเล่านิทานตามที่ตนจับได้ กลุ่มดิฉันได้ไปเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังที่โฮมเนอสเซอรี่ จากนั้นให้สังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างละเอียด จดเกี่ยวลักษณะท่าทางของเด็ก และเมื่อเล่าจบให้เด็กๆ เกี่ยวกับนิทานที่เราได้เล่าให้เด็กฟัง ให้นำเสนองานในสัปดาห์ต่อไป

นิทานเรื่อง หัวผักกาดยักษ์
หัวผักกาดยักษ์อเล็กเซ ตอลสตอย (เรื่อง) / ชูเรียว ซาโต้ (ภาพ) / พรอนงค์ นิยมค้า (แปล) จากเรื่อง The Turnip (รัสเซีย)
สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก, พิมพ์ครั้งที่ 6, 2552
ปกแข็ง 28 หน้า (26.5 x 19.5 ซม.), 175 บาท
         หัวผักกาดยักษ์ เป็นนิทานจากนักเขียนชาวรัสเซีย นำมาสร้างสรรค์เป็นหนังสือภาพโดยศิลปินชาวญี่ปุ่น และพิมพ์เผยแพร่มาร่วม 50 ปีแล้ว
         เรื่องราวของต้นหัวผักกาดที่คุณตาคนหนึ่งปลูกเอาไว้ และเฝ้ารอวันที่หัวผักกาดจะโตขึ้นมาเร็วไว เป็นหัวผักกาดใหญ่ รสชาติดี  ไม่ช้าไม่นานหัวผักกาดก็โตขึ้นกลายเป็นหัวผักกาดยักษ์ คุณตาพยายามจะดึงหัวผักกาดออกมา แต่ดึงอย่างไรหัวผักกาดก็ไม่หลุดออกจากพื้นดิน ตาจึงไปตามยายมาช่วยดึง แต่หัวผักกาดยักษ์ก็ยังไม่ยอมหลุดออกมา  ยายจึงไปตามหลานสาวมาช่วยอีกแรง สามแรงแข็งขันช่วยกันดึง แต่หัวผักกาดก็ยังไม่หลุด
         หลานจึงไปตามหมามาช่วยกันดึง ก็ยังถอนหัวผักกาดไม่ได้ หมาจึงไปตามแมวมาช่วย หัวผักกาดก็ยังไม่หลุดอีก แมวจึงไปตามหนูมาช่วย ทั้งหมดร่วมแรงกันดึงหัวผักกาด จนในที่สุดหัวผักกาดก็ถูกถอนออกมาจากดินได้ ทั้งหมดตื่นเต้นดีใจกันใหญ่ที่ได้เห็นหัวผักกาดยักษ์หลุดออกมาแล้ว ไชโย!
         ภาพบนพื้นขาว แสดงกิริยาที่เอาจริงเอาจังของสามตายายและหลาน แต่งกายแบบชาวไร่รัสเซีย กับสัตว์ที่น่าจะเป็นศัตรูกัน แต่ก็มาช่วยกันด้วยดี หมา แมว และหนู ดึงหางกันอย่างขมีขมัน เพื่อเสริมแรงช่วยเด็กหญิง และยายกับตา เพื่อถอนหัวผักกาดยักษ์ออกจากดินให้ได้ แล้วก็ทำได้
         เรื่องง่ายๆ ได้ความรู้สึกสนุก เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันเป็นคุณค่าที่พึงสอนเด็กให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูก ที่ควรนำไปปฏิบัติ  ซึ่งพัฒนาของเด็ก 3-5 ปี พร้อมจะเข้าใจในเรื่องนี้ วันหนึ่งเขาจะอนุมานได้ถึงหัวผักกาดยักษ์ ว่าคืองานใหญ่ที่ต้องมาร่วมแรงแข็งขัน อาจจะเป็นงานที่ไม่มีใครคาดคิดว่าเราจะทำได้ แต่หากได้ร่วมด้วยช่วยกัน ความสำเร็จย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม

บันทึการเรียนการสอน


ครั้งที่ 5 วันที่ 13 กรกฎาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203 
เวลา 14.10 - 17.30 น.

ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานในรูปแบบวิดีโอ


ค้นคว้าเพิ่มเติม

พัฒนาการทางร่างกาย ของเด็กอายุ 3 ปี
     พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่าง รวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก การเพิ่มของ น้ำหนักเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ในตอนต้นของวัยนี้ สัดส่วนของร่างกายเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น ทำให้สามารถกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวดีขึ้น เด็กจึงชอบวิ่ง กระโดด ไม่หยุดนิ่ง การหยิบจับและการช่วยเหลือตนเอง สามารถควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดี ทำให้เด็กวัยนี้ พร้อมที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลัง การเล่นกลางแจ้ง การใช้มือก็มีความละเอียดขึ้น เด็กสามารถแต่งตัวเองได้ หวี ผม แปรงฟันได้เอง และสามารถช่วยทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้  เราจะเห็นว่าเด็กในวัยนี้มีการพัฒนาด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กดังนี้
กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 
   -          ยืนขาเดียวได้นานขึ้น
  -          ปีนป่ายบันไดและเครื่องเล่นกลางแจ้ง
  -          เดินลงบันไดแบบสลับขา  
  -          วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้
  -          ถีบจักรยาน 3 ล้อได้
  -          วิ่งไปเตะลูกบอลได้โดยไม่ต้องหยุดเล็ง
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  -          วาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  -          วาดรูปคนที่มีส่วนต่างๆได้ 3 ส่วน
  -          ร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้
  -          เลียนแบบการทำสะพานได้
  -            ตัดกระดาษกรอบรูปได้
 เด็กจะเริ่มเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่เฝ้าในการเล่น ใช้พลังงานไปกับการเล่น จะรู้สึกดีที่ได้แสดงออกในสิ่งที่ตนต้องการ เต็มใจลองของใหม่และสิ่งแปลกใหม่


พฤติกรรมของเด็กอายุ 3 ปี

ชอบตั้งคำถาม  เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการทางภาษาค่อนข้างมาก  สามารถเล่าเรื่องเป็นประโยคยาวๆได้  ร้องเพลงง่ายๆได้   ทำให้มักชอบตั้งคำถาม   ช่างคิด  ช่างสงสัยในสิ่งต่างๆ

เริ่มช่วยเหลือตนเองได้  เช่น รับประทานอาหาร  แต่งตัว  ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยตนเอง   และยังชอบช่วยผู้ใหญ่ทำงานเล็กๆน้อยๆ เราควรส่งเสริมให้เด็กเกิดความภูมิใจด้วยการชื่นชมในสิ่งที่เด็กทำ  และให้ได้ลองทำสิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง

เล่นกับเพื่อน มักจะเล่นอยู่ในกลุ่มเพื่อน 2-3 คน ทำให้ได้เรียนรู้เงื่อนไขทางสังคมใหม่ๆที่นอกเหนือไปจากที่บ้าน  เริ่มบอกความแตกต่างระหว่างเพศได้  Piaget นักจิตวิทยากลุ่มที่เน้นความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) กล่าวว่า เด็ก 3-5 ขวบ เรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมจากเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลหรือเพื่อนบ้านวัยเดียวกัน แต่เด็กวัยนี้ยังเข้าใจถึงความถูกต้องและความผิดไม่ลึกซึ้งนัก


มีจินตนาการ  เด็กวัยนี้ชอบของเล่นที่ใช้ความคิด  หากได้เล่นจินตนาการ  หรือแสดงบทบาทสมมุติจะเล่นได้เรื่อยๆ เช่น พ่อแม่ ครู ตำรวจ ซึ่งเด็กมักจะเล่นบทบาทสมมติเป็นบุคคลที่มีอำนาจในสายตาเด็ก การเล่นบทบาทสมมติเป็นสิ่งที่เราควรส่งเสริมเพราะช่วยให้เด็กได้มีจินตนาการ  และเป็นการปลดปล่อย   บางครั้งเวลาที่ให้เด็กเล่าเรื่องอาจเป็นเรื่องจริงปนเรื่องสมมุติ  พ่อแม่และผู้ปกครองควรต้องระวังไม่ให้กลายเป็นติดนิสัยโกหก  โดยไม่ควรใช้วิธีดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง  แต่อาจใช้วิธีการทำให้เด็กรู้ว่ากำลังพูดเรื่องโกหก เช่น
คุณแม่ - ใครทำน้ำหก
หนูเล็ก- พี่แดงทำค่ะ
คุณแม่ - พี่แดงไปโรงเรียนแล้ว จ๊ะ หนูไปเอาผ้ามาเช็ด วันหลังต้องอย่าวิ่งเวลาถือแก้วน้ำนะจ๊ะลูก

เจ้าอารมณ์  เด็กในวัยนี้มักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเปิดเผย  เช่น โมโห  ไม่พอใจมักแสดงอาการกระทืบเท้า   อิจฉาอะไรโดยไม่มีสาเหตุ  และกลัวอะไรอย่างสุดขีด  อาจเกิดจากสัญชาตญาณหรือระดับสติปัญญาที่เพิ่มมากขึ้น  ทำให้รู้ว่าสิ่งใดมีอันตรายในด้านพฤติกรรมนั้นผู้ใหญ่ควรเข้าใจว่าเด็กในวัยนี้มีจินตนาการสูง  และกำลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้สังคมที่นอกเหนือไปจากที่บ้าน  ทำให้การแสดงออกของพฤติกรรมอาจไม่เหมาะสม  แต่จะต้องแยกตัวเด็กออกจากพฤติกรรมของเขา เช่น จะต้องบอกว่า “ครูรักหนู แต่ครูไม่ชอบในสิ่งที่หนูทำ หนูทำแจกันแตกเป็นสิ่งที่ไม่ดี มันทำให้เกิดอันตราย” แต่ถ้ามันเป็นอุบัติเหตุก็ต้องอธิบายให้ฟังว่า ไม่เป็นไรมันเป็นเพียงอุบัติเหตุ คราวหน้าหนูควรทำอย่างนี้ และที่สำคัญครูควรต้องระวัง ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ควรให้เด็กคิดถึงสิ่งที่เขาควรทำได้ สำหรับวัยนี้และจะต้องชมเชยเมื่อเด็กทำได้ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง รวมทั้งเรื่องความคิด การตัดสินใจ การสร้างทัศนคติที่ดี ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสามารถที่จะทำได้  

ทักษะสำคัญในการใช้ชีวิต ของเด็กอายุ 3 ปี

ทักษะที่ต้องเริ่มฝึกหัดและฝึกฝนให้ลูกก็คือสิ่งที่จำเป็นกับการดำเนินชีวิตของเขาในวัยปัจจุบัน และจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาไปสู่ทักษะชีวิตที่ยากและซับซ้อนขึ้น ซึ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า

ความคล่องแคล่วชำนาญในทุกๆ พัฒนาการทางกาย 

ที่จะเกิดขึ้นตามวัย เช่น เดิน วิ่ง กระโดดหยิบจับสิ่งของ ขีดเขียน การพูดจาสื่อสาร ซึ่งเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมต่างๆส่งเสริมได้โดย : ให้ลูกได้เล่นออกกำลัง เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแขน-ขา มือ-นิ้วมือ ฝึกการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การทรงตัว เช่น พาไปเล่นในสนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี เตะบอล ขี่จักรยาน 3 ล้อ ต่อบล็อก ปั้นแป้ง
  • ให้ลองลงมือทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองบ้าง ตามวัยที่เขาทำได้ เช่น ให้ลองจับแปรงแปรงฟันเอง ล้างมือ ล้างหน้า กินอาหาร ถอด-ใส่เสื้อผ้า รองเท้า เริ่มจากง่ายๆ ก่อนโดยทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และอาจช่วยเหลือบ้างถ้าเห็นว่าลูกต้องการ ระหว่างนี้สามารถวางแบบแผนที่ควรจะเป็นของกิจวัตรได้ด้วย เช่น แปรงฟันตอนเช้า-ก่อนเข้านอน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ถอดรองเท้าวางเข้าที่ เป็นต้น 
  • จัดกิจกรรมที่เด็กจะได้สื่อภาษา เช่น ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ พูดคุยกับลูกให้มากในทุกๆ ช่วง ทุกๆ กิจกรรมที่ได้อยู่กับเด็ก เช่น ขณะเล่น ขณะทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้เด็กได้เห็นตัวอย่างการใช้ภาษา ได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ และต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองใช้ภาษา ด้วยการชวนคุยแบบตั้งคำถามและให้ความสำคัญกับการฟังในสิ่งที่เด็กพยายามสื่อสาร  
        สร้างทักษะชีวิต : การทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เช่น ทำกิจวัตรประจำวันได้เอง ช่วยเหลือตัวเองได้
สามารถทำและสื่อสารให้ผู้อื่นรู้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ สิ่งเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่ความเชื่อมั่น และการเห็นคุณค่าในตัวเอง
ถ้ายิ่งมีโอกาสทำอะไรด้วยตัวเองบ่อยเท่าไร โอกาสของการได้ลองผิดลองถูก ได้คิดวิเคราะห์
แก้ปัญหา ตัดสินใจในระหว่างที่ทำกิจกรรมเหล่านี้นั้นก็จะมีมากขึ้น ความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจก็จะสะสมมากขึ้นเป็นวงจรเรียนรู้ ที่มีแต่ได้กับได้ นอกจากนี้เด็กๆ ที่ช่วยเหลือตนเองได้มาก จะเป็นคนที่รู้จักรับผิดชอบและปรับตัวง่ายด้วย

ความชำนาญ ในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

เด็กๆ ต้องได้ฝึกทักษะการใช้สายตา การรู้จักแยกแยะกลิ่น เสียง การลิ้มรสและสัมผัสที่แตกต่าง ส่งเสริมได้โดย : การจัดหนังสือ ของเล่นที่จะกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้าน เช่น
ของเล่นที่มีสีสัน มีเสียง เคลื่อนไหวได้ หรือแม้แต่การเล่นจ๊ะเอ๋ ซ่อนหาสิ่งของ เล่นทราย กิจกรรมทดสอบประสาทสัมผัส หนังสือสีสันสดใสมีรูปแบบน่าสนใจ เช่น หนังสือภาพ หนังสือ pop up เป็นต้น
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้หลากหลายและน่าสนใจ ที่ช่วยเร้าความสนใจในการเข้าไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ทั้งภายในบ้าน รอบบ้านหรือการพาลูกไปเที่ยวที่ต่างๆ และชี้ชวนให้ลูกสังเกต ลงมือทำ สัมผัสกับของจริง หรือแม้แต่การจัดเมนูอาหารที่หลากหลาย ที่สำคัญไม่ต้องสกัดกั้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็กด้วยการละเลยคำถาม หรือตอบอย่างดุดันรำคาญ โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปี ที่เด็กเป็นเจ้าหนูจำไมชอบซักถาม
            สร้างทักษะชีวิต : เด็กจะได้รู้จักโลกรอบๆ ตัว ทั้งสัตว์ สิ่งของ ผู้คน สถานที่ ฯลฯ สั่งสมเป็น
ฐานข้อมูลในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ นำไปสู่ความเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด วิเคราะห์ สามารถแยกแยะความแตกต่างของสิ่งรอบตัวได้ และเมื่อความอยากรู้อยากเห็นได้รับการตอบสนองอยู่เรื่อยๆ ลูกจะกลายเป็นเด็กที่มีความกระหายใคร่รู้ กระตือรือร้นกับสิ่งใหม่ อยากรู้อยากลอง

ทักษะในการสัมพันธ์กับผู้อื่น 

 โดยการเรียนรู้วิธีสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสมส่งเสริมได้โดย : โอบกอด สัมผัส ให้ความรัก ดูแลและปฏิบัติต่อเด็ก บุคคลอื่น หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงด้วยท่าทีอ่อนโยน พูดจาด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล เป็นการให้แบบของการแสดงออกทั้งกิริยาและคำพูดที่เหมาะสม
  • ดูแลเด็กโดยใช้เหตุใช้ผลผ่อนปรนตามความต้องการของลูกบ้างในบางเรื่อง เพื่อให้เริ่มเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่ควรและไม่ควร และเห็นวิธีการจัดการกับความไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ เป็นฐานของการคิดวิเคราะห์หาเหตุผล การแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนหาวิธีที่ดีที่สุด
  • พาไปร่วมกิจกรรมที่ต้องสัมพันธ์กับคนอื่นและให้ได้ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นนอกบ้าน เช่น เมื่อไปซื้อของ เวลาที่เข้าแถวรอจ่ายเงินหรือทำธุระต่างๆ ให้เด็กได้อยู่ร่วมในบรรยากาศแบบนี้บ้าง ระหว่างรอก็เล่าให้รู้ว่ากำลังทำอะไร ทำไมจึงต้องรอ ถ้าทำเป็นประจำเด็กจะค่อยๆ ซึมซับและเรียนรู้วัฒนธรรมของการเข้าคิว รู้จักรอคอย และเคารพสิทธิ์ผู้อื่น
  • ให้เรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้ให้ ผู้รับ เช่น เทศกาลต่างๆ ก็พาลูกไปช่วยเหลือ ช่วยเตรียมของขวัญให้ญาติ เพื่อน หรือให้เด็กเป็นคนมอบของขวัญนั้น หรือการซื้ออาหารให้สัตว์ตามสวนสัตว์ การให้อาหารสัตว์เลี้ยงที่บ้าน ก็เป็นกิจกรรมที่เป็นฐานไปสู่การรู้จักคิดถึงผู้อื่น การมีน้ำใจได้
        ทักษะทางด้านอารมณ์
คนที่มีทักษะทางอารมณ์ที่ดี คือคนที่รู้จักและเท่าทันอารมณ์ตัวเอง จัดการกับ  อารมณ์ตัวเองได้ เกิดขึ้นได้จากความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และการมีอารมณ์มั่นคง ส่งเสริมได้โดย : เลี้ยงดูด้วยความรัก ความเข้าใจ โอบกอด สัมผัสอย่างสม่ำเสมอ จะเกิดเป็นความไว้วางใจ เชื่อมั่นว่าตัวเองเป็นที่รัก ไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นฐานของการเห็นคุณค่าในตัวเอง
  • สนใจและให้อิสระเด็กได้ทำในสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่สนใจ โดยให้เด็กคิด เลือกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยให้คำแนะนำให้การสนับสนุนและชื่นชม ก็จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่สนใจ ยอมรับจากคนที่เขารัก ก็เกิดเป็นความมั่นใจ เห็นคุณค่าตัวเอง อารมณ์มั่นคง
  • จัดของเล่น กิจกรรมที่ลูกได้แสดงความรู้สึกและอารมณ์ เช่น เล่านิทาน การฟังเพลง การเล่นจินตนาการกับตุ๊กตา ของเล่นต่างๆ การทำงานศิลปะ ทั้งที่เล่นคนเดียว เล่นรวมกับพ่อแม่หรือคนอื่นๆ หรือจะเป็นของเล่นหรือกิจกรรมที่เด็กจะได้ใช้สมาธิจดจ่อ เช่น เกมต่อภาพ ต่อบล็อก แป้งปั้น ร้อยลูกปัดก็ช่วยสร้างอารมณ์ที่มั่นคงได้ แม้แต่วิธีการเล่นของเล่นทีละ 1 อย่าง เล่นแล้วเก็บแล้วค่อยหยิบของเล่นชิ้นใหม่มาเล่น วิธีนี้สอนได้ทั้งเรื่องวินัยและสมาธิ การจดจ่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เด็กได้ และสิ่งนี้ยังเป็นฐานของการพัฒนาไปสู่ความมุมานะ พยายามตั้งใจได้อีกด้วย
       ธรรมชาติของเด็กและเยาวชนคือ  การอยากเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ  อยู่เสมอ  ประกอบกับในยุคสมัยนี้มีเครื่องมือสื่อสารต่างๆ  ที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่ายและรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตหรือเกมออนไลน์  ทำให้เยาวชนขาดความระมัดระวังในการเลือกรับสื่อเหล่านี้  และบางคนอาจจะเลือกรับสื่อที่ไม่เหมาะสม  ซึ่งจะส่งผลทางลบต่อตัวเด็กและเยาวชนได้อีกด้วย

จิตวิทยาของเด็กอายุ 3 ปี
        ในวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กมีสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสดีมากขึ้น เด็กเริ่มที่จะเคลื่อนไหว ต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว Erik H. Erikson กล่าวว่า ในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่างซักถาม เป็นเจ้าหนูจำไม ซึ่งผู้ใหญ่ควรโต้ตอบให้ความรู้กับเด็กเพราะจะส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก เด็กจะคิดใหม่ พูดใหม่ ทำอะไรใหม่ๆ ทุกวัน ระบบความจำและสมาธิดีขึ้น และเป็นวัยที่มีจินตนาการสูง มีความคิดแบบที่ยึดเอาตนเองเป็นหลัก และคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีชีวิตมีความรู้สึก เช่น ต้นไม้ร้องไห้ถ้าโดนตัด เป็นต้น แต่ก็จะเริ่มลดลงในช่วงหลัง ให้เหตุผลง่ายได้ๆ จินตนาการบางอย่างของเด็กนั้นผู้ใหญ่ต้องคอยดูและแยกแยะระหว่างความจริงกับจินตนาการให้เด็กเพื่อไม่ให้เด็กติดนิสัยโกหก ในขณะเดียวกัน พ่อแม่ต้องสนับสนุนให้เด็กได้สร้างสรรค์จินตนาการของตนเองอย่างเหมาะสม เช่น มีของเล่นที่สามารถใช้เล่นบทบาทสมมติได้ ตุ๊กตามือ หรือนิทานต่าง ๆ ซึ่งเด็กที่ได้รับการส่งเสริมเต็มที่จะกลายเป็นคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเล่นบทบาทสมมติเป็นการช่วยระบายความกลัว เช่น เด็กกลัวหมอฟัน การเล่นบทบาทสมมติเป็นหมอฟันอาจช่วยลดความกลัวตรงนี้ได้ แต่ผู้ใหญ่ต้องระวังไม่ให้กลายเป็นว่าเด็กกลัวฝังใจ นอกจากนั้นการเล่นบทบาทสมมติยังพัฒนากระบวนการคิดเป็นขั้นตอน การให้เด็กได้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ และพ่อแม่ต้องรู้จัก “ชม” อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการเสริมแรงให้ลูกกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อไป หากเด็กทำผิด ก็ต้องลงโทษอย่างเหมาะสมเช่นกัน แต่การลงโทษนั้นไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมถาวรเท่ากับการเสริมแรงด้วยการชม นอกจากนี้ ในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีพฤติกรรมเลียนแบบโดยจะมีการเลียนแบบพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกันซึ่งเป็นการเรียนรู้บทบาททางเพศ Albert Bandura กล่าวว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือเรียนรู้จากตัวแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวแบบที่เป็นบุคคลจริง ๆ เช่น พ่อแม่ เพื่อน ครู หรือตัวแบบเชิงสัญลักษณ์ เช่น ตัวละครในโทรทัศน์ ตัวการ์ตูน หากตัวแบบใดทำพฤติกรรมแล้วได้รับรางวัล ตัวเด็กก็มีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมนั้นๆ ตามตัวแบบที่ได้รับรางวัล จริยธรรมของเด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาแต่จะพัฒนาจาก ตัวแบบ การลงโทษ การให้รางวัล และการสั่งสอน การเล่นของเด็กนั้นเด็กจะมีกลุ่มเพื่อนอาจจะสองถึงสามคน ซึ่งการเล่นเป็นกลุ่มนี้ช่วยให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ รู้จักสร้างกฎและทำตามกฎ การปรับตัวและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เป็นการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการเล่นเป็นกลุ่มนี้ยังช่วยลดความคิดที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของเด็กด้วย เพราะเมื่อเล่นกับคนอื่น เด็กย่อมต้องรู้จักการปรับตัว และหัดมองในมุมของคนอื่นเพื่อตนเองสามารถเป็นส่วนหนึ่งและเล่นร่วมกับคนอื่นได้ นอกจานั้นยังทำให้เกิดการเลียนแบบกันเองด้วยหากพ่อแม่ ผู้ปกครองให้การสนับสนุนที่ดีแก่เด็กได้ เด็กในวันนี้ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า

บันทึการเรียนการสอน


ครั้งที่ 4 วันที่ 6 กรกฎาคม 55

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203
เวลา 14.10 - 17.30 น.
         วันนี้ไม่มีการรายงานหน้าชั้นเพราะอาจารย์ให้กลับไปทำวิดีโอมาใหม่ในสัปดาห์ต่อไปทุกกลุ่ม ทุกกลุ่มต้องทำมาให้พรา้อมและมีความน่าสนใจ เรียบร้อยซึ่งทุกกลุ่มต้องมีความน่าสนใจ รายงานยังไงทุกคนถึงจะให้ความสนใจในการรายงานของเรา แล้วต้องเป็นวีดีโอที่น่าติดตาม

บันทึกการเรียนการสอน



ครั้งที่ 3 วันที่ 29 มิถุนายน 55

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203 
เวลา 14.10 - 17.30 น.

      วันนี้ อาจารย์  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้ไปสัมภาษณ์น้อง อายุ 2 ขวบ, 3ขวบ, 4 ขวบ, 5ขวบ, 6ขวบ,7ขวบ,และ 8ขวบ  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้จับฉลากได้ เด็ก อายุ 3 ขวบ   และอาจารย์ก็ได้ปล่อยให้นักศึกษาไปหาน้องๆ ตามอายุที่จับได้แล้วไปสัมภาษณ์น้อง พร้อมกับถ่ายคลิปวีดีโอ  แล้วนำเสนอ อาทิตย์หน้า


พัฒนาการของเด็กอายุ 3 - 4 ขวบ

มาถึงเด็ก 3 - 4 ขวบ บ้างนะคะ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่น่ารักค่ะ พูดค่อนข้างรู้เรื่องแล้ว แต่ก็ยังดื้อมากอยู่ดี (แย่จัง...) 

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ยืนขาเดียวและเขย่งปลายเท้าได้
- วิ่งขึ้น ลง บันไดได้
- เดินเร็วได้ดี
- กระโดดได้
- เตะลูกบอลได้
- ตัดกระดาษได้บ้าง

 พัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์
- งอแงและหงุดหงิดง่าย
- ชอบตั้งคำถาม
- สมาธิสั้น
- ชอบได้รับคำชม
- หวงของ ขี้อิจฉา
- รู้จักสีและรูปทรง
- อยากรู้อยากเห็น
- ช่างพูดช่างจา ช่างอธิบาย
- ชื่นชมแม่
- เริ่มเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ แต่ยังไม่ชอบเล่นกับเพื่อนเพศตรงข้าม
- เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
- จับคู่สิ่งของได้
- รู้จักควบคุมอารมณ์ได้บางครั้ง