ยินดีต้อนรับ



ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวอัจฉรียา พุทธานุ เอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน


ครั้งที่ 6 วันที่ 20 กรกฎาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203 
เวลา 14.10 - 17.30 น.






วิดีโอนิทาน
       อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปจับฉลากกลุ่มละ 1 อัน และให้แต่ละกลุ่มไปเล่านิทานตามที่ตนจับได้ กลุ่มดิฉันได้ไปเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังที่โฮมเนอสเซอรี่ จากนั้นให้สังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างละเอียด จดเกี่ยวลักษณะท่าทางของเด็ก และเมื่อเล่าจบให้เด็กๆ เกี่ยวกับนิทานที่เราได้เล่าให้เด็กฟัง ให้นำเสนองานในสัปดาห์ต่อไป

นิทานเรื่อง หัวผักกาดยักษ์
หัวผักกาดยักษ์อเล็กเซ ตอลสตอย (เรื่อง) / ชูเรียว ซาโต้ (ภาพ) / พรอนงค์ นิยมค้า (แปล) จากเรื่อง The Turnip (รัสเซีย)
สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก, พิมพ์ครั้งที่ 6, 2552
ปกแข็ง 28 หน้า (26.5 x 19.5 ซม.), 175 บาท
         หัวผักกาดยักษ์ เป็นนิทานจากนักเขียนชาวรัสเซีย นำมาสร้างสรรค์เป็นหนังสือภาพโดยศิลปินชาวญี่ปุ่น และพิมพ์เผยแพร่มาร่วม 50 ปีแล้ว
         เรื่องราวของต้นหัวผักกาดที่คุณตาคนหนึ่งปลูกเอาไว้ และเฝ้ารอวันที่หัวผักกาดจะโตขึ้นมาเร็วไว เป็นหัวผักกาดใหญ่ รสชาติดี  ไม่ช้าไม่นานหัวผักกาดก็โตขึ้นกลายเป็นหัวผักกาดยักษ์ คุณตาพยายามจะดึงหัวผักกาดออกมา แต่ดึงอย่างไรหัวผักกาดก็ไม่หลุดออกจากพื้นดิน ตาจึงไปตามยายมาช่วยดึง แต่หัวผักกาดยักษ์ก็ยังไม่ยอมหลุดออกมา  ยายจึงไปตามหลานสาวมาช่วยอีกแรง สามแรงแข็งขันช่วยกันดึง แต่หัวผักกาดก็ยังไม่หลุด
         หลานจึงไปตามหมามาช่วยกันดึง ก็ยังถอนหัวผักกาดไม่ได้ หมาจึงไปตามแมวมาช่วย หัวผักกาดก็ยังไม่หลุดอีก แมวจึงไปตามหนูมาช่วย ทั้งหมดร่วมแรงกันดึงหัวผักกาด จนในที่สุดหัวผักกาดก็ถูกถอนออกมาจากดินได้ ทั้งหมดตื่นเต้นดีใจกันใหญ่ที่ได้เห็นหัวผักกาดยักษ์หลุดออกมาแล้ว ไชโย!
         ภาพบนพื้นขาว แสดงกิริยาที่เอาจริงเอาจังของสามตายายและหลาน แต่งกายแบบชาวไร่รัสเซีย กับสัตว์ที่น่าจะเป็นศัตรูกัน แต่ก็มาช่วยกันด้วยดี หมา แมว และหนู ดึงหางกันอย่างขมีขมัน เพื่อเสริมแรงช่วยเด็กหญิง และยายกับตา เพื่อถอนหัวผักกาดยักษ์ออกจากดินให้ได้ แล้วก็ทำได้
         เรื่องง่ายๆ ได้ความรู้สึกสนุก เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันเป็นคุณค่าที่พึงสอนเด็กให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูก ที่ควรนำไปปฏิบัติ  ซึ่งพัฒนาของเด็ก 3-5 ปี พร้อมจะเข้าใจในเรื่องนี้ วันหนึ่งเขาจะอนุมานได้ถึงหัวผักกาดยักษ์ ว่าคืองานใหญ่ที่ต้องมาร่วมแรงแข็งขัน อาจจะเป็นงานที่ไม่มีใครคาดคิดว่าเราจะทำได้ แต่หากได้ร่วมด้วยช่วยกัน ความสำเร็จย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น