ยินดีต้อนรับ



ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวอัจฉรียา พุทธานุ เอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555


คลิกสิ! คลิกแล้วคุณจะรู้ว่ามีเรื่องไหนที่น่าอ่านบ้าง... ^^

  1. นิทานอีสป พรายน้ำกับไข่มุก
  2. นิทานอีสป นกกระสากับหมาจิ้งจอก
  3. นิทานอีสป แม่กบกับวัว
  4. เรื่อง แครอทรสความสุข
  5. นิทานอีสป ชายชรากับพญามัจจุราช
  6. นิทานอีสป ผึ้งกับเทวดา
  7. นิทานอีสป นกนางแอ่นกับกา
  8. นิทานอีสป สองสหายกับหมี
  9. นิทานอีสป แพะกับเถาองุ่น
  10. นิทานอีสป คนโลภกับคนขี้อิจฉา
  11. นิทานอีสป-งูฟันหลอ
  12. นิทานอีสป พ่อค้าขายเกลือกับลา
  13. นิทานอีสป ราชสีห์กับหนู
  14. นิทานอีสป ผึ้งขอพร

อ่านเลยยยยย.. สนุกนะ เราอ่านมาแล้ว 5555

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน


ภาพกิจกรรมครูมูเล่านิทาน

ครูมูเล่านิทานให้นักศึกษาฟังอย่างสนุกสนาน..

 นักศึกษาของเราตั้งใจฟังครูมูเล่านิทานมาก อิอิ...

เด็กๆ อ่านหนังสือที่ผู้ใหญ่เขียน ฟังนิทานที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง
เด็กๆ มีโลกของเขาซึ่งแตกต่างจากโลกของผู้ใหญ่ โลกของเด็กบริสุทธิ์สดใส เต็มไปด้วยความสนุกสนานเริงร่า และไร้เดียงสา โลกในความรู้สึกของเด็กนั้นกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยมิตรภาพ ความซื่อสัตย์ ความเมตตากรุณา และความดีงาม วัยเด็กจึงเป็นวัยที่ควรได้รับอาหารสมองให้เพียงพอ เช่นเดียวกับอาหารกาย เพื่อเด็กๆ จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงพร้อมทั้งกาย และจิตใจ อาหารใจ ที่เด็กต้องการมากคือ ความรัก ความเอาใจใส่
ส่วน อาหารสมองที่เด็กต้องการคือ นิทานดีๆ สำหรับเขาเพื่อเขาจะได้ฟัง อ่าน และศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโลก และชีวิตด้วยตัวของเขาเอง เนื่องจากระยะวัยเด็กเป็นระยะเริ่มเรียนรู้ การวางรากฐานจำเป็นต้องได้รับตัวอย่างที่ดี นิทานจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีบทบาทต่อการพัฒนาเด็กให้เจริญงอกงามทั้งด้านจิตใจ สติปัญญา ความรู้และจินตนาการ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้ความบันเทิง หล่อหลอมจิตใจของเด็ก นิทานเป็นสื่อในการให้ประสบการณ์ที่ดีแก่เด็กๆ
เด็กๆ อ่านหนังสือมีจุดประสงค์หลายอย่าง โดยทั่วไปเด็กอ่านหนังสือ เพราะความอยากรู้ อยากเห็นตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งมักสนใจใคร่รู้ ความเป็นไปของสิ่งรอบๆ ตัว เพื่อทราบเรื่องราวและเหตุการณ์ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อช่วยในการดำเนินชีวิตในสังคม เป็นไปอย่างราบรื่นด้วยดี
ปัจจุบัน เด็กๆ สามารถเลือกนิทานได้อย่างกว้างขวาง
การจะ เลือกนิทานให้กับเด็กๆ สักเรื่อง ควรต้องศึกษาว่าเรื่องประเภทใดอ่านแล้วเด็กสนุกและชื่นชอบ หรือเด็กอ่านอะไรจึงจะสนุก ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าเด็กควรอ่านอะไรเท่านั้น เพราะบางครั้งเรื่องที่คิดว่าเด็กควรอ่าน อาจไม่ถูกใจเด็กก็ได้

สิ่งที่น่าสนใจที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในการเลือกหนังสือนิทานสำหรับเด็ก
ลักษณะนิทานที่ดีสำหรับเด็ก
นิทาน สำหรับเด็กมีมากมาย คุณพ่อคุณแม่จึงมีหน้าที่พิจารณา และคัดสรรนิทานที่ดี และเหมาะสมเพื่อนำนิทานที่ดีเหล่านี้ไปเล่าให้ลูกน้อยของคุณฟัง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึง ในการเลือกสรรนิทานสำหรับลูกน้อยมีดังนี้ค่ะ
1. ตรงกับความสนใจ และความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
2. เป็นเรื่องที่สนุกสนานเพลิดเพลิน แต่แฝงด้วยคุณธรรม
3. ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่มีจินตนาการ และชอบสร้างจินตนาการ ถ้านิทานเรื่องใดช่วยส่งเสริมจินตนาการของเขา เรื่องนั้นเด็กๆ จะอ่านซ้ำไป ซ้ำมา ไม่รู้จักเบื่อ4. ส่งเสริมความมั่นใจ เนื่องจากเด็กจะคิดว่าตัวเองเป็นตัวละครในเรื่อง และคิดว่าตนเองต้องประสบความสำเร็จเหมือนตัวละครในนิทาน ทำให้เด็กๆ เกิดความภาคภูมิใจประทับใจ 5. สนองอารมณ์ ความปรารถนาต่างๆ เช่น อยากเป็นคนเก่ง อยากได้รับความรัก นิทานที่มีเนื้อเรื่องสนองอารมณ์ต่างๆ ตามที่เด็กปรารถนา ไม่เน้นความรู้สึกด้านใดด้านหนึ่ง เรื่องเช่นนี้มักเป็นที่พอใจของเด็กๆ แทบทั้งนั้น
6. ส่งเสริมความรู้ เป็นเรื่องที่ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน ของเด็กเอง เช่น การแต่งตัว อาบน้ำ ไปโรงเรียน ฯลฯ
7. เค้าโครงเรื่องไม่วกวน เด็กเข้าใจง่าย กระชับ ตัวละคร ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ หมี สุนัข กระต่าย ฯลฯ มีวัยใกล้เคียงกับเด็ก เป็นเรื่องที่เด็กๆ ได้มีประสบการณ์ร่วม
8. ภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา คำบรรยาย มีเท่าที่จำเป็นส่วนใหญ่เด็กจะพอใจติดตามรูปภาพประกอบมากกว่า
9. ภาพประกอบนับเป็นหัวใจของนิทาน เด็กชอบอ่านด้วยภาพมากกว่าตัวหนังสือ ภาพประกอบจึงเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกมีชีวิต มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
10. รูปแบบของหนังสือนิทานต้องกะทัดรัดเหมาะกับมือเด็ก ทนทานต่อการหยิบจับ มีตัวหนังสือขนาดใหญ่ชัดเจน ข้อความแต่ละบรรทัดไม่ยาวเกินไป


เด็กๆ ได้อะไรจากนิทาน 
การ นำเอาประสบการณ์รอบๆ ตัวเด็กๆ มาเล่าเป็นเรื่องราว เป็นนิทานย่อมจะสะกดเด็กๆ ให้ใจจดใจจ่ออยู่กับการเล่านิทาน เด็กๆ จะเพลิดเพลินสนุกสนานและมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวที่ได้ยิน ได้เห็น สามารถสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ได้ไม่รู้จบ เด็กที่ได้ฟังได้อ่านนิทานเป็นประจำเขาจะได้อะไรบ้าง
1. เด็กๆ เกิดความรู้สึกอบอุ่น และใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อนๆ และสังคม
2. เด็กๆ เกิดความรู้สึกร่วมขณะฟังนิทาน ทำให้เขาเกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายและสดชื่นแจ่มใส
3. เด็กๆ เกิดสมาธิหรือความตั้งใจในการทำงานที่มีระยะเวลานาน
4. เด็กๆ เกิดความรู้สึกดีงาม เนื่องจากถูกกล่อมเกลาด้วยนิทานที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
5. เด็กๆ เกิดความละเอียดอ่อน รู้จัก ยอมรับ และมองโลกในแง่ดี
6. เด็กๆ เกิดกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพ ในการพิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล
7. เด็กๆ เกิดความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการอันกว้างไกลไร้ขอบเขต

คุณพ่อคุณแม่สามารถเป็นนักเล่านิทานสำหรับลูกน้อย
คุณ พ่อคุณแม่หลายท่านมักประสบปัญหาการเล่านิทานให้ลูกๆ ฟังไม่รู้ว่าจะเล่าแบบไหน เริ่มต้นอย่างไร วิธีไหนที่จะทำให้ลูกๆ สนใจ สนุกไปกับนิทาน เรามีเคล็ดไม่ลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ นักเล่านิทานมือสมัครเล่นมาฝากกันค่ะ
1. ใช้น้ำเสียง คำพูดที่สื่อความหมายเหมาะสม เด็กๆ สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ และออกเสียงให้ชัดเจน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดเสียงเป็นตัวละครในนิทาน แค่ใช้เสียงธรรมดาเล่าเรื่องให้ต่อเนื่องโดยไม่สะดุด ก็สามารถทำให้ลูก ของคุณสนุกได้เหมือนกัน
2. ขณะทำการเล่าต้องใช้ท่าทางมือ ลำตัว ศีรษะ ฯลฯ ประกอบการเล่าให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง หากคุณพ่อคุณแม่มีความสามารถในการวาดรูปอาจใช้วิธีการวาดไปเล่าไป หากมีความสามารถในงานประดิษฐ์ เช่น การทำหุ่น การทำตุ๊กตาผ้า ยิ่งทำให้การเล่านิทานของคุณมีสีสัน สร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ให้กับลูกรักของคุณได้มากทีเดียวค่ะ
3. สบสายตากับลูกขณะเล่านิทาน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับลูก ลูกจะรู้สึกว่าได้รับความรัก ความอบอุ่น ปลอดภัย เกิดความรู้สึกร่วม เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
สิ่ง ต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่เท่านั้น นิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ลูกฟัง ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามทั้งหมด แต่ขอให้การเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่เกิดจากความตั้งใจ ความรัก ความห่วงหาอาทร ความเข้าใจไม่จำเป็นต้องดัดเสียง แปลงกาย มีอุปกรณ์ประกอบมากมาย แค่นี้ลูกน้อยของคุณก็จะได้รับนิทานเป็นอาหารสมอง ทั้งกายและใจ

คลิกลิงค์คำว่านิทานสีน้ำเงินอ่านได้เลยจ้าาาา....

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน


 
ครั้งที่ 16 วันที่ 19 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2203
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.


  วันนี้อาจารย์จ๋าให้นักศึกษาเขียนเรื่องแท็บเล็ตว่ามีข้อดี ข้อเสีย และมีความสัมพันธ์กับเด็ก ป.1 หรือไม่? ภายในเวลา 20 นาที

ข้อดี
  1. แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็กๆ
  2. ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ วิดีโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
  3. เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเตอร์เน๊ตได้ทุกที่ทุกเวลา
  4. ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขิลอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริงๆ
  5. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซี่งน่าเบื่อและเข้าใจมากกว่า
ข้อเสีย
       อาจจะมีเด็กจะมีเด็กติดอินเตอร์เน๊ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์ ดังที่ปรากฎในประเทศเกาหลีใต้
นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า
  1. เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน
  2. ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง
  3. มีปัญหาเรื่องสายตา กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ
  4. เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์

    "หากเป็นแท็บเล็ตไว้แจกตัวเครื่องให้นักเรียนอย่างเดียว นับว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก มันไม่ได้ช่วยให้การศึกษาดีขึ้นเลย มันจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งหลักสูตรและตัวบุคลากรครูผู้สอนไปพร้อมๆ กัน ยิ่งอุปกรณ์อย่างแท็บเล็ตไม่มีคีย์บอร์ดก็ไม่เหมาะสำหรับการศึกษา เพราะแท็บเล็ตไม่ใช่มีไว้แค่อ่านหนังสือ แต่มันเป็นการสื่อสารที่ต้องใช้การโต้ตอบ เพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งแนะนำให้ใช้พีซีราคาถูก เป็นคำตอบที่ดีและเหมาะสมมากกว่า ถ้าเราสามารถปรับปรุงด้านหลักสูตรให้ดีขึ้น มีความพร้อม และสร้างระบบ และมีนโยบายเพื่อการเข้าถึงหลักสูตรเหล่านั้น ตัวอุปกรณ์นั้นจะเป็นคอมพิวเตอร์ให้ยืมจากห้องสมุดก็สามารถใช้งานได้" 

แท็บเล็ตมีความเหมาะสมกับเด็กชั้นประมศึกษาปีที่ 1 หรือไม่?

      แท็บเล็ตยังไม่เหมาะสมและไม่จำเป็นที่จะต้องแจกเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพราะเด็กไม่มีวุฒิภาวะ แทนที่จะได้ประโยชน์ อาจกลับส่งผลร้ายให้แก่เด็ก วัยที่เหมาะสมกับการใช้แท็บเล็ตต้องเป็นคนที่มีวุฒิภาวะมากกว่า หรือคนที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์



อาเซียน


วันที่ 7 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2203
เวลาเรียน  14.10 - 17.30  น.

วันนี้ทางคณะศึกษาศาตร์ได้จัดนิทรรศการณ์อาเซี่ยน
นิทรรศการณ์ :: คุณภาพทางการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซี่ยน





กำเนิดอาเซียน

       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุ ประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก



สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็น องค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)


กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่

(1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     
(2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     
(3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก    
(4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     
(6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที    
(8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     
(9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political and Security Community – APSC)       
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบ เดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
 

บันทึกการเรียนการสอน



ครั้งที่ 15 วันที่ 12 กันยายน 2555

วิชา การจัดประประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2203
เวลาเรียน  14.10 - 17.30  น.

   วันนี้อาจารย์จ๋าบอกถึงวิธีการเรียนการสอนนั้นมีหลากหลายแบบซึ่งทุกวิธี สามารถที่จะบรูณาการเข้าด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ เทคโนโลยี จิตวิทยา เป็นต้น อาจารย์ยังพูดถึงหลักการว่าประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการทำอะไร เพื่ออะไร ก่อนจะไปขั้นวิเคราะห์ เมื่อเสร็จขั้นนี้ก็จะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย แล้วนำเสนอ

บันทึกการเรียนการสอน



ครั้งที่ 14 วันที่ 14 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2203
เวลา  14.10 - 17.30  น.

อาจารย์จ๋าให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลงให้ออกมาร้องเพลงก่อนและต่อด้วยการเล่านิทานและอาจารย์จะให้วิดีโอเก็บไว้เป็นผลงานของนักศึกษาต่อไป

เพลง เด็กจอมพลัง




นิทานเรื่อง คุณยายไปดาวดวงใหม่

         มีคุณยายคนหนึ่ง ชอบเก็บของเก่า แต่แล้ววันหนึ่งคุณยายไปเก็บเมล็ดผักกาดมาได้ คุณยายจึงรีบไปดาวดวงใหม่ทันที คุณยายก็เริ่มปลูกผักกาด ทันใดนั้นต้นผักกาดก็โตเร็วมาก ในขณะนั้นเองก็มีพายุเข้าอย่างหนักฟ้าเลยผ่าลงมาที่ต้นผักกาดทั้งหมดของคุณยาย คุณยายจึงรีบเข้าบ้านเพื่อรอเช้าวันใหม่ เธอจะได้ปลูกต้นผักกาดใหม่นั่นเอง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ...


กลุ่มที่ 1. เพลงแปรงฟันกันเถอะ
กลุ่มที่ 2. เพลงเชิญมาเล่น
กลุ่มที่ 3. เพลงท้องฟ้าแสนงาม
กลุ่มที่ 4. เพลง เดิน เดิน เดิน
กลุ่มที่ 5. เพลงเด็กจอมพลัง

การเล่านิทาน
กลุ่มที่ 1   เรื่องช้างมีนำใจ (เล่าไปฉีกไป
กลุ่มที่ 2   เรื่อง เจ้าแสนซน (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 3   เรื่อง กระต่ายน้อยเพื่อนเกลอ (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 4   เรื่อง โจรใจร้าย (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 5   เรื่อง กบน้อยแสนซน (เล่าฉีกไป)
กลุ่มที่ 6   เรื่อง เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์ (เล่าไปฉีกไป)
กลุ่มที่ 7   เรื่อง เจ้างูน้อยกับเภาวัลล์ (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 8   เรื่อง ต้นไม้ของเรา (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 9   เรื่อง วันหยุดของน้องเบส (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 10 เรือง ดาวเคราะห์ของคุณยาย (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 11 เรื่อง ครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 12 เรื่อง ตุ้งแช่จอมซน (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 13 เรื่อง น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 14 เรื่อง แพวิเศษ (เล่าไปพับไปป
กลุ่มที่ 15 เรื่อง ความสุขของคุณยาย (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 16 เรื่อง ยักษ์ 2 ตน (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 17 เรื่อง พระจันทร์ไม่มีเพื่อน (เล่าไปตัดไป)
กลุ่มที่ 18 เรื่อง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง (เล่าไปวาดไป)


ผังความคิด



บันทึกการเรียนการสอน

     
ครั้งที่ 13 วันที่ 7 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203
                                                               เวลา 14.10 - 17.30 น.




วันนี้อาจารย์จ๋าแจกสีและแผ่นตัวอักษรและได้พูดถึงครั้งแรกที่เรียนว่ามีอะไรบ้าง
    1.ทักษะทางภาษาโดยใช้การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบโดยการตีความทีละหัวข้อ  และการสังเกตดูพฤติกรรมการใช้ภาษาของเด็ก   

   2.การจับใจความ การสรุปความคิด การตั้งคำถามกับเด็กโดยใช้นิทานและเพลงเข้าช่วย   
   3.การจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อในการสอนเด็ก เช่น นิทาน เพลง เกม ปริศนาคำทาย คำคล้องจอง   
   4.มุมประสบการณ์ทางภาษาที่จัดไว้สำหรับเด็ก โดยส่งเสริมการฟัง พูด อ่าน และเขียนของเด็ก เช่น นิทาน(การอ่าน) เทปเพลง(การฟัง) กระดานเขียน(การเขียน) หุ่นนิ้วมือ(การพูด)

*หมายเหตุ -มาเรียนชดเชย



วันที่ 19 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203
เวลา 14.10 - 17.30 น.

อาจารย์ให้มาเรียนชดเชย ให้ทำดอกไม้โดยมีครูผู้ชำนาญในเรื่องของการทำดอกไม้มาสอน






ผลงานที่ข้าพเจ้าได้ร่วมกันทำกับเพื่อน 

         สิ่งที่ได้จากการทำดอกไม้ในครั้งนี้คือ เราสามารถนำมาใช้ได้ในประสบการณ์จริงได้ สามารถนำมาสอนเด็กๆ ที่ต้องการความรู้เรื่องการทำดอกไม้ได้จริง สำหรับการทำดอกมะลิจากกระดาษกระดาษทิชชู่เป็นการทำดอกที่ประหยัดและยังได้ความรู้สึกดีๆ อีกด้วยเพราะดอกมะลิใช้ในวันแม่ เราก็สามารถทำดอกมะลิจากกระดาษกระดาษทิชชู่ให้แม่เราได้อย่างภาคภูมิใจและประหยัดด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน


ครั้งที่ 12 วันที่ 31 สิงหาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203
เวลา 14.10 - 17.30 น.

อาจารย์ให้แต่งเพลงมา กลุ่มดิฉันคือ เด็กจอมพลัง




ปฏิทิน


อักษรสูง :: ง น ย ร ว ล ม ณ 








อาจารย์จ๋าก็ให้เพื่อนที่อยู่กลุ่มปฏิทินด้วยกันช่วยกันแต่งคำขวัญ ชวนเลิกเหล้า มีดังนี้

1) กลุ่มอักษรกลาง สระอา พ่อจ๋าเลิกเหล้าเลิกจน ครอบครัวเป็นสุข

2) กลุ่มอักษรสูง สระอี ดูสิ!! เลิกเหล้าชีวิตสดใส ครอบครัวเป็นสุข


3) กลุ่มอักษรต่ำ สะแอะ ดูสิ!!กินเหล้าแล้วเมา กินข้าวดีกว่า

4) กลุ่มอักษรกลาง สระอิอี กอดเหล้ามันแย่ กอดแม่ดีกว่า
5) กลุ่มอักษรต่ำ สระอา หยุดดื่มหยุดเมา ทุกข์เราจะไม่มี

6) กลุ่มอักษรต่ำ สระโอะโอ คุณค่ะ!! กีฬาสร้างชีวิต เหล้าเบียร์สร้างปัญหา
7) กลุ่มอักษรกลาง สระอุอู พี่พี่!! เลิกเหล้าวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า

8) กลุ่มอักษรกลาง สระแอะเอ ผัวขา!! เลิกเหล้าเพื่อครอบครัว ดีกว่าเสียตัวไปมัวเมา

9) กลุ่มอักษรสูง สระอะอา เลิกเหล้า เลิกจน

10) กลุ่มอักษร สระ - START ลด ละ เลิกเหล้า เพื่อเราเพื่อชาติ

11) กลุ่มอักษร สระ -แอะ แอ  ที่รักจ๊ะ ถ้ารักตัวเองเพื่อรักของเรา เลิกเหล้าเถอะนะ
12) กลุ่มอักษรกลาง สระโอะโอ คอนเฟริม!! เลิกเหล้าเข้าใจชีวิต มวลมิตรจะสุขใจ

13) กลุ่มอักษรสูง สระอุอู ฟันธง!! เลิกเหล้า แล้วชีวิตจะพ้นจากโรคภัย

14) กลุ่มอักษรสูง สระโอะโอ (2) เลิกเหล้ากันเถอะ

15) กลุ่มอักษรกลาง สระเอะอา คุณแม่!! ขอร้องโตมาด้วยน้ำนมแม่อย่าให้มันแย่เพราะน้ำเมา

16) กลุ่มอักษรต่ำ สระอุอู ดื่มเหล้าตับแข็ง เสียทั้งแรงเสียทั้งเงิน


บันทึกการเรียนการสอน


ครั้งที่ 11 วันที่ 24 สิงหาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2203

เวลา 14.10 - 17.30 น.


อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุยแล้วอาจารย์จ๋าให้เราวิเคราะห์ตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้ 3 หัวข้อ
1.วิเคราะห์ว่าเพลงนี้สื่ออะไร
2.วัตถุประสงค์ของเพลงนี้คืออะไร
3.นักศึกษาฟังแล้วรู้สึกอย่างไร


เพลง เกาะสมุย
เนื้อเพลงเกาะสมุย : Deep O Sea

* ที่เกาะสมุยมันมีอะไร
ที่ทำให้คุณนั้นต้องอยากไป
ที่ทำให้คุณนั้นต้องติดใจมาชวนผม 

Do you want to know bout' paradise?
This time is really hard to find
Sunshine is brighting all the time at Koh Samui na na na

** เป็นแค่เพียงเกาะนึงอยู่เคียงด้ามขวานทะเลอ่าวไทย
หาดทรายก็สวยไม่เป็นรองใคร เกาะบ้านผม
มีแค่เพียงต้นพร้าวและลิงทะโมนที่ซนว่องไว 
แต่ลิงบ้านผมมันดังกว่าใครเรื่องขึ้นพร้าว ฮ่ะฮาฮา 

*** แต่ทำไมใครต่อใครจึงอยากให้ผมพาไป 
นี่มันมีดีอะไรที่บ้านผม นา นา นา นา นา 
( ซ้ำ * )
ก็เป็นแค่เพียงเกาะนึงอยู่ไกลโพ้นท้องทะเลออกไป 
แต่มีผู้คนที่มีน้ำใจจนเปี่ยมล้น 
คนไทยคนฝรั่งอยากไปบนเกาะทุกแห่งทุกหน 
ก็ตกลงพาไปทุกคนให้สมใจ 
( ซ้ำ ***, * )
โนงเนง โนงเนง นานานา โนงเนง โนงเนง โนงเนง นานานา
โนงเนง โนงเนง โนงเนง นานานา โนงเนง โนงเนง โนงเนง นานานา โนงเนง ฮ่ะฮา
ก็จะพาคุณไปหาดเฉวงที่มีผู้คนครื้นเครงไม่เคยได้นอนหลับไหล

(C-H-A-W-E-N-G if you wanna see the color of night life)
ก็จะคุณนั้นไปดูหิน ที่เกาะสมุยของเราก็มีหินตาหินยาย
(ladies and gentlemen let's see what happen at หินตาหินยาย)
ก็จะพาคุณนั้นไปดูควาย
ที่เกาะสมุยของเรานั้นก็มีควายชน
(If you need an exciting, a buffy fighting won'tbe a wasted time)

เปิดประทุนพาไปบนถนนเลาะลี้ยววิ่งวนบนถนนรอบเกาะ
ไปกินเงาะ ทุเรียน ลางสาด น้ำมะพร้าว ซีฟู้ด
มังคุดที่มันอร่อยสุดสุดถ้าหากว่าคุณนั้นชอบ
พาไปแลหนังลุง พาไปแลโนราห์
เธอรบเร้ามานานอยากไปกับผมสองคน
ก็เธอคงเกินจะทนเลยชวนผม 
( ซ้ำ *, * )


นิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด

  
อาจารย์ยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช่วรรณกรรมเป็นพื้นฐาน อาจารย์จึงได้ยกตัวอย่างมา 1 เรื่อง ชื่อนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด

    อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร

     อาจารย์ได้ทำเกมการศึกษา - lotto,แกนด์,ภาพอนุกรม,เกมอุปมาอุปไมย- การเล่นเครื่องเล่น ก็จะเชื่อมโยงมาจากการฟังนิทาน เช่น การช่วยเพื่อนลงมาจากกระดานลื่น เป็นต้น 


งานที่อาจารย์สั่งสัปดาห์
ให้นักศึกษาจับกลุ่มกลุ่มเดิม 3 คน ช่วยกันแต่งเพลง และนำเพลงกับทำนองใส่ power point มา พร้อมกับนำเสนองานหน้าชั้นเรียน